ในตอนแรกได้มีการเข้าไปยัง http://klogic.kmutnb.ac.th เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับวิชาที่ลง หนวยกิตที่ได้ เกรดที่ได้ ซึ่งมีหน้าตาดังนี้
นำข้อมูลใน http://klogic.kmutnb.ac.th ไปใส่ไว้ใน Google spreadsheet โดยจะมีคอลัมน์ รหัสวิชา
ชื่อวิชา หน่วยกิต ตอนเรียน เกรดที่ได้ และ เกรดที่ได้(ตัวเลข)
ในการคำนวนเกรดเฉลี่ยต่อเทอม(GPA) สามารถทำได้โดยการนำหน่วยกิตคูณกับเกรดที่ได้ ในแต่ละวิชารวมกันในเทอมนั้นๆ แล้วหารด้วยหน่วยกิตในเทอมนั้น
เกรดเฉลี่ยต่อเทอม = ((หน่วยกิตวิชาแรก x คะแนนที่ได้จากวิชาแรก) + (หน่วยกิตวิชาที่สอง x คะแนนที่ได้จากวิชาที่สอง) + ... + (หน่วยกิตวิชาสุดท้ายของเทอม x คะแนนที่ได้จากวิชาสุดท้ายของเทอม)) / (หน่วยกิตทั้งหมดของเทอมนี้)
ซึ่งเขียนเป็นสูตรสำหรับการหา GPA ในเทอมแรกบน Spreadsheet ได้ดังนี้
ในฟังก์ชั่น SUMPRODUCT โดยปกติจะมีการใช้ argument 2 ตัว ซึ่งเป็นช่วงของ cell ที่ต้องการจะให้งานโดยมีความยาวของช่วงทั้ง 2 เท่ากัน ซึ่งในตัวอย่างการใช้ SUMPRODUCT จะมีการคำณวนดังนี้
SUMPRODUCT = (C2 x F2) + (C3 x F3) + ... + (C9 x F9)
ส่วนฟังก์ชั่น SUM จะเป็นการเอาค่าตัวเลขที่อยู่ใน Cell ที่ป้อนไปใน Argument มารวมกันโดย Argument ที่ป้อนเข้าไปอาจเป็นชื่อ cell หลายๆ argument หรือเป็นช่วงของ cell แค่ Argument หรือจะใช้ชื่อ cell รวมกับช่วงของ cell ก็ได้ การใช้ SUM ในตัวอย่าง จะเกิดการคำณวนดังนี้
SUM = C2 + C3 + ... + C9
เมื่อนำสูตรไปปรับใช้กับเกรดทุกเทอมจะได้ตารางหน้าตาดังนี้
ในการคิดเกรดเฉลี่ยร่วม(GPAX) ทำได้เหมือนกับการคิดเกรดเฉลี่ยประจำภาค(GPA) โดยปรับแค่ช่วงของข้อมูลจากวิชาใน 1 เทอมเป็นวิชาทั้งหมด โดยจะได้สูตรดังนี้
จะได้ผลดังนี้
และหากต้องการหาเปอร์เซนต์ของเกรดที่ได้ว่ามี A B+ B C+ ... อย่างละกี่เปอร์เซ็นหาได้โดยการนับจำนวนเกรดที่ได้แต่ละอย่างแล้วนำไปวาดแผนภูมิวงกลมโดยในการนับเกรดจะใช้ฟังก์ชั่น COUNTIF เข้ามาช่วย โดยฟังก์ชั่นนี้จะรับ Argument 2 ตัวซึ่งตัวแรกจะเป็นช่วงของ cell ที่สนใจและ argument ที่ 2 จะเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาว่าจะนับ cell ไหนบ้างในกรณีข้อมูลใน cell เป็น string Argument ที่ 2 จะทำหน้าที่เป็นตัวเทียบว่า จะนับ cell ไหนในช่วงที่กำหนดมาบ้าง สมมุติให้ Argument ที่ 2 เป็น "A" จะมีการนับแค่ cell ที่มีข้อมูลเป็น "A" เท่านั้น แต่ถ้าเป็น "A*" จะหมายถึงให้นับ cell ที่มีข้อมูลเริ่มต้นเป็น A
ในกรณีที่ ข้อมูลใน cell เป็นตัวเลข Argument ตัวที่ 2 สามารถเป็นเงื่อนไขได้เช่น >25 จะเป็นการนับเฉพาะ cell ที่มีข้อมูลเป็นตัวเลขที่มากกว่า 25 เท่านั้น
ในที่นี้ได้มีการใช้สูตร COUNTIF สำหรับนับว่าได้เกรด A ทั้งหมดกี่ตัวดังนี้
และเมื่อนำมาปรับใช้กับเกรดทุกเกรดแล้วจะได้ตารางดังนี้
และเมื่อนำข้อมูลในตารางมาสร้างแผนภูมิวงกลมจะได้ดังนี้
สิ่งที่ได้เรียนรู้
- ได้รู้จักกับสูตรคำนวณต่างๆในการใช้งาน Google spreadsheet
- ได้รู้วิธีการคำณวน GPA และ GPAX
ปัญหาที่พบ
- ฟังก์ชั่น SUMPRODUCT เกิดการ error แก้ไขได้โดยปรับ ช่วงของ cell ของทั้ง 2 Argument ให้มีขนาดเท่ากัน
- คะแนนที่แสดงใน http://klogic.kmutnb.ac.th เป็นตัวอักษร A B+ B C+ ... ทำให้ไม่สามารถนำมาคิดเกรดเฉลี่ยได้ แก้ไขได้โดยการ copy เกรดออกมาเป็น column อีกอันหนึ่งแล้วใช้เครื่องมือ replace with ของ google spreadsheet เปลี่ยนให้ A เป็น 4 B+ เป็น 3.5 B เป็น 3 และ อื่นๆ
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น